4 เหตุผลที่โรงเรียนฝึกฝนให้เด็กๆล้มเหลวในชีวิตจริง
(Original published by Stephen Guise, “How Schools Train Us to Fail in the Real World“)
“ผมไม่เคยให้โรงเรียนมาเป็นสิ่งที่ขัดขวางการศึกษาของผม” Mark Twain
นักเขียนชาวสหรัฐอเมริกา Stephen Guise ผู้เขียนหนังสือ Mini Habits ได้เขียนบทความอธิบายความบกพร่องของระบบการศึกษาไว้ได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ระบบการศึกษาอเมริกาในปัจจุบันไม่ได้ช่วยนำทางหรือกำหนดการเรียนรู้ให้กับเด็กเลย มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งในนั้น คุณรู้หรือเปล่าว่าทำไมผมถึงไม่ชอบโรงเรียน แน่นอน
หนึ่งในสิ่งที่ผมไม่ชอบคือการบ้าน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ โรงเรียนกลายเป็นที่ที่ฝึกฝนให้เด็กๆล้มเหลวในโลกแห่งความจริงใน 4 ทางด้วยกัน
1.โรงเรียนสอนให้เด็กมีความรู้ แต่การใช้ชิวิตในโลกแห่งความจริงต้องการสติปัญญา
(School teach knowledge, but life requires wisdom)
“อย่าสับสนระหว่างความรู้กับสติปัญญา อันหนึ่งช่วยให้คุณหาเลี้ยงชีพได้ แต่อีกอันช่วยให้คุณใช้ชีวิตเป็น” Sandara Carey
เด็กๆมักถูกสอนเค้าจดจำบทเรียนต่างๆแทนที่จะได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตที่สำคัญๆ เช่น การบริหารจัดการเงินของตนเอง, ทักษะการเจรจาต่อรอง หรือ ทักษะสื่อสารที่เหมาะสม
หลายๆคนมองว่าทักษะการใช้ชีวิตพวกนี้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องสอนลูกของตนเอง แต่ความจริงคือไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่จะมีความสามารถในการสอนเรื่องพวกนี้
และคนส่วนใหญ่ก็คาดเดากันไปเองว่าแค่การส่งลูกไปเรียนที่โรงเรียนก็ทำให้เด็กมีความรู้เพียงพอแล้ว
ระบบโรงเรียนควรจะเป็นที่ๆเหมาะสมที่สุดที่จะให้เด็กๆเรียนรู้ทักษะในการใช้ชีวิตที่สำคัญยิ่งยวดเหล่านี้ เพราะว่าการเรียนหนังสือในโรงเรียนเปรียบเสมือนเส้นทางหลักเส้นทางเดียวที่เด็กๆจะได้เตรียมพร้อมเพื่อใช้ชีวิตในโลกใบนี้ ในเมื่อเด็กทุกคนต้องเดินผ่านเสนทางนี้ ทำไมมันถึงไม่มีการฝึกฝนและเตรียมพร้อมให้เด็กๆรู้จักการพัฒนาตนเอง,
การบริหารการเงินส่วนบุคคล, มีทักษะการสื่อสาร, มีความฉลาดทางอารมณ์ และการดูแลสุขภาพตนเอง หรือแม้แต่ความรู้ทางจิตวิทยาที่ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง คอร์สเรียนที่ใกล้ที่สุดที่เด็กๆจะหาเรียนได้ในระบบการศึกษาก็อยู่ในมหาวิทยาลัย และส่วนใหญ่จะเป็นวิชาเลือกซะด้วย
หลายคนอาจจะยกตัวอย่างว่าทักษะในการใช้ชีวิตพวกนี้ก็มีสอนในบางโรงเรียน หรือคุณครูที่ยอดเยี่ยมบางท่านอาจจะมีโอกาสได้ถ่ายทอดถ้อยคำแห่งปัญญาเหล่านี้ หลักในการใช้ชีวิตให้เด็กได้เรียนรู้และนำไปใช้ในวันข้างหน้า แต่ปัญหาคือจุดประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมาต่างหาก โรงเรียนไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสอนสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในชีวิตให้กับเด็กๆ
ผมเองอยากจะให้โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ คุณเห็นด้วยกับผมหรือเปล่า
– ให้โรงเรียนมีวิชาสำหรับทักษะการใช้ชีวิตที่สำคัญ อย่างเช่น การบริหารการเงินส่วนบุคคล, การสื่อสาร, จิตวิทยาโดยภาพรวม,
การฝึกนิสัย, การตั้งเป้าหมาย ฯลฯ
– นำเอาเรื่องราวเหล่านี้ผนวกเข้าไปกับในวิชาเรียนด้วย เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ ให้คุณครูอธิบายถึงการใช้บัตรเครดิตที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต,
การสร้างความน่าเชื่อถือจากการชำระเงินให้ตรงเวลา, การเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง และ ทำไมการซื้อรถยนต์คันใหม่ถึงเป็นการตัดสินใจลงทุนที่น่ากลัวมาก ฯลฯ
– สอนเรื่องราวเหล่านี้ให้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอให้เด็กไปถึงระดับมหาวิทยาลัยแล้วค่อยสอน เพราะไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะสามารถเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ แต่เด็กทุกคนจำเป็นต้องรู้เรื่อง
เหล่านี้
2. โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะกับงานหลายๆงาน
(School is an unsuitable learning environment for many jobs)
สำหรับคนที่เถียงว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่ที่จะไปสอนทักษะการใช้ชีวิตพวกนี้ให้กับเด็กๆ แต่มันควรจะเป็นที่ที่เตรียมเด็กๆให้พร้อมต่อโลกแห่งทำงานและหาเลี้ยงชีพ ผมเข้าใจครับ
แต่เสียใจด้วย เพราะว่าคุณติดกับดักไปเรียบร้อยจากมุมมองแบบนี้ ถ้าหน้าที่ของโรงเรียนคือการเตรียมเด็กๆให้พร้อมสำหรับการทำงาน แล้วทำไมมันถึงทำหน้าที่นั้นได้แย่มากขนาดนี้
เรามาลองดูสถิติที่ทำให้โรงเรียนดูหงอยไปเลย (อ้างอิงจาก รายงานของบริษัท Mckinsey consulting firm ในประเทศสหรัฐอเมริกา)
คำเตือน: สถิติพวกนี้น่าหงุดหงิดมากๆ
– ในปี 2011 เด็กที่จบมหาวิทยาลัยจำนวน 1.5 ล้านคน หรือ 53.6% ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ไม่มีงานทำหรือมีผลงานด้อยกว่าที่ควรจะเป็น
– และ 48% ของเด็กที่มีงานทำ ได้งานที่ไม่จำเป็นต้องใช้วุฒิปริญญาตรีก็ได้
– 30% ของเด็กที่เรียนจบมา รู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้ถูกเตรียมพร้อมกับโลกในการทำงานจริง
ทุกวันนี้เด็กๆมีทางเลือกมากขึ้นกว่าสมัยก่อนที่ เด็กๆทำได้แค่ประกอบอาชีพตามมี่พ่อแม่เคยทำ แต่มันความเข้มข้นของการเรียนรู้ไปสู่การใช้งานจริงก็ด้อยกว่า เด็กๆหลายคนเข้าแคมป์เรียนเขียนโปรแกรมกับโปรแกรมเมอร์มืออาชีพเพียง 2-3 เดือนแต่ 90% ได้ที่เรียนจบแคมป์นี้กลับได้งานที่เงินเดือนมากกว่าเด็กจบใหม่ ถ้ายังงั้นให้เด็กๆไปเรียนคอร์สฝึกงานเฉพาะทาง 2-3 เดือนที่สอนงานในตลาดจริงๆ จะดีกว่ามั้ย แทนที่จะเรียนถึง 4 ปีเพียงเพื่อที่จะหางานทำไม่ได้
3.พ่อแม่มักเข้าใจว่าการเรียนมหาวิทยาลัยเป็นหนทางไปสู่การที่ลูกมีงานทำและความเจริญก้าวหน้าอาชีพการงาน ทั้งที่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่
(College claims to be the safe, sure way for great career (it’s not))
คนทุกคนจะได้เรียนรู้ในบางจุดของชีวิตแหละว่าไม่มีใครสนใจหรอกว่าคุณมีศักยภาพแค่ไหน
เวลาที่บริษัทเลือกว่าจ้างลูกจ้างของตนเอง จากตัวเลือกมากมายในตลาดแรงงานที่มีวุฒิการศึกษา อย่างเช่นปริญญาตรีเหมือนๆกันไปหมด คุณค่าของวุฒิการศึกษานั้นมันก็ด้อยค่าลง เวลาบริษัทจะจ้างใครสักคน พวกเขาจะเลือกคนที่สามารถทำงานที่เขาต้องการได้เลยทันที
ไม่ว่าลูกของคุณโตจะขึ้นไปทำงานอะไรก็ตาม ให้เขาฝึกฝนทักษะและประสบการณ์ในตลาดงานนั้นๆเข้าไว้ และหา network ให้ตนเองมากๆเข้าไว้ อย่าคาดหวังว่าใบปริญญาจะช่วยให้พวกเขาได้งาน เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาจะมีทักษะและประสบการณ์ทำงานจริงที่พร้อมใช้ได้เลย และเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน
4.เกรดที่เด็กๆได้ทำให้เด็กๆเข้าใจผิดเกี่ยวโลกแห่งความเป็นจริง
(Grades distort our perception about reality)
ลูกๆของคุณอาจจะสอบได้เกรด 4.00 มาตลอด แต่ไม่เคยมีใครได้เกรด 4.00 ตลอดเวลาในชีวิตจริง ในชีวิตจริง พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะได้เกรด 4.00 มากกว่าด้วยถ้าพวกเขาสอบตกซะก่อน.. สอบตกหลายต่อหลายครั้งมากเลยด้วย
นักเขียนชื่อดังอย่าง Stephen King อาจจะยังเก็บเอกสารที่บรรดาสำนักพิมพ์ปฏิเสธงานเขียนของเขาไว้อยู่ เหตุการณ์พวกนี้แหละคือการสอบตกในชีวิตจริง Stephen King หนึ่งใน
นักเขียนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ สอบตกในชีวิตจริงหลายต่อหลายสิบครั้ง ก่อนที่เขาจะสอบได้ 4.00 ในชีวิตจริง โรงเรียนมักจะสอนเด็กๆให้มีทัศนคติว่า
ถ้าเราขยันอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียน ยังไงก็ได้เกรดที่ดีแน่นอน แต่ชีวิตจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น
สูตรไก่อดของผู้พัน Sanders ถูกปฏิเสธมาถึง 1,009 ครั้ง กว่าที่จะมีคนตอบตกลงครั้งแรก และการถูกปฏิเสธแต่ละครั้งมันน่าขายหน้าเหมือนการสอบตกของเด็กๆในโรงเรียน ถ้าเด็กๆสอบได้เกรด 4.00 ก็เหมือนพวกเขาสำเร็จทุกครั้ง แต่การที่เด็กๆจะได้เกรด 4.00 ในชีวิตจริง พวกเขาอาจจะได้ในครั้งที่ 30 หลังจากที่สอบตกมาจนท้อแท้
(Note: Translation by Warit Srisuriyarungrueng)
Read MorePreparing Students for Future Careers

What will she be when she grows up? Parents fear that their children are facing a jobless future as artificial intelligence begins replacing human workers. Photo Credit: Andy Kelly
Technological innovation is revolutionizing the job market, as the world enters a major turning point. From self-driving cars and smart homes to nano-robots and gene editing, emerging fields like artificial intelligence, robotics, the Internet of Things, and nanotechnology offer unprecedented possibilities for improving our lives. The exponential rate of discoveries and breakthroughs has business leaders calling this critical period a “Fourth Industrial Revolution.”
As society adapts to the changes brought by technological advancement, the future looks bright – yet as history has shown, the social and economic impact of progress is not without its challenges.
Through the power of water and steam, the Industrial Revolution saw production move from hands to machines. Between the 19th and 20th centuries, new energy sources led to the advent of mass production and the rise of workers being displaced by automation. During the more recent Digital Revolution, electronic and information technology began transforming the market economy into a sharing economy.
Although technological innovation does have the potential to provide new opportunities for social and economic growth, the reality is that abrupt technological shifts also increase the risk of job insecurity – and current data trends are already cause for concern.
According to the World Economic Forum, over one-third of the core skills demanded by industries will change by 2020, which means that this paradigm shift is potentially disrupting the future of workers. By one estimate, 65 percent of children today will have future jobs that have yet to be invented.
Given the rapid transformation of the global workforce, many parents are wondering, “How do we prepare students for finding a job in the future, when the careers of today will be obsolete tomorrow?”
Rethinking Education
Rethinking education systems must become the long term focus of communities as they educate future generations. But how can educators plan for a future they can’t predict?
The current school system in most countries relies on an increasingly outdated model of education in which the teacher transmits knowledge to the student through lectures, homework assignments, and tests. This transmission and acquisition model of education, known as “instructionism” by learning scientists, fails to meet the challenges posed by current economic trajectories.
Trends in the job market reveal a growing demand for employees with a mix of both technical and social skills. Universal skillsets will become the key to training workers capable of adapting to technological changes.
Alternative models of education are now providing the answers to 21st century problems. The surge of schools rooted in project-based, or experiential, learning is evidence of the transformations occurring to prepare students for the future. Teaching methods grounded in constructivist approaches to learning allow students to develop their skills within a professional and social context – a real-world situation that lets them “learn by doing” – and helps them link knowledge concepts to the activity, context, and culture in which they learned it.
Similarly, in an article for the World Economic Forum 2018, researchers suggest that to successfully prepare students for 21st century jobs, universities should emphasize breadth of knowledge over narrow specialties. Although the deep understanding that comes from study in a specific subject will still be important, the ultimate objective is to move towards multidisciplinary approaches to solving real-world problems. Already universities are encouraging students to forgo traditional majors, allowing them to instead build their studies around a mission – a stated goal that provides the purpose to learning.
Most importantly, instilling a commitment to lifelong learning in students now will ensure their survival in the future.
Read More